HPV DNA Test
HPV DNA Test

เป้าหมาย WHO หญิงไทยลดอัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่า 4 : 100,000
%20.png)
หญิงไทยปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก
ตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วย HPV DNA Test
นพ.ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักนิเทศระบบการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิก
HPV DNA Test คือ วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกโดยตรง
โดยใช้อุปกรณ์ป้ายเก็บสารคัดหลั่งและเซลล์เนื้อเยื่อปากมดลูก แล้วส่งตรวจที่ศูนย์ตรวจทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล ด้วยเทคนิคชีวโมเลกุล (PCR-based)
การตรวจด้วย PCR นี้มีระบบควบคุมภายใน (internal control) ที่ประเมินความเพียงพอของตัวอย่างเซลล์ส่งตรวจ (specimen adequacy)
สามารถบอกได้ว่าตัวอย่างที่ตรวจมีเซลล์ตัวอย่างหรือไม่ ป้องกันผลลบลวงจากการเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง จึงมั่นใจผลการตรวจทุกตัวอย่างตรวจได้ 100%
ความแม่นยำของ HPV DNA testing
HPV DNA testing ที่นำมาใช้ในทางปฏิบัติมีความไวทางคลินิก (clinical sensitivity) ในการตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก (CIN 2,3)
สูงถึงร้อยละ 95-100 และมีคุณค่าในการทำนายผลลบ สำหรับรอยโรค CIN 2,3 สูงถึงร้อยละ 99-100
การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อส่งตรวจ HPV DNA Test ทำได้ 2 แบบ ที่มีประสิทธิภาพเหมือนกัน คือ
1. Clinician-collected แบบเดิม เก็บตัวอย่างโดยแพทย์-บุคลากรการแพทย์ โดยผู้หญิงต้องขึ้นขาหยั่งและใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอด
2. Self-collected แบบพิเศษ ผู้หญิงใช้อุปกรณ์พิเศษเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง
ในประเทศยุโรปที่มีโปรแกรมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระดับชาติครอบคลุมสมบูรณ์
จะใช้ทั้ง 2 แบบ เช่น เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ค โดยรัฐบาลจะใช้แบบเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง
กับผู้หญิงที่ปฏิเสธการขึ้นขาหยั่งไม่มาตรวจตามโปรแกรม และใช้ในพื้นที่ห่างไกล

iCheck Test เป็นการตรวจแบบ Self-collected HPV DNA Test
โดยผู้หญิงใช้อุปกรณ์พิเศษ Evalyn brush เก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง
คลิก (สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ข้อมูลการตรวจ HPV Self- collected)
คลิก (สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ข้อมูลการตรวจ HPV Self- collected)
ผลการตรวจบอกอะไรได้บ้าง ?
1. กรณีผลตรวจเป็นลบ (undetectable) หรือตรวจไม่พบเชื้อไวรัส HPV คุณมีความปลอกภัยสูง สามารถเว้นการตรวจได้ 3 ปี
2. กรณีที่ผลตรวจเป็นบวก (detectable) หรือตรวจพบเชื้อไวรัส HPV ยังไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่คุณมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น
จึงมีความจำเป็นต้องไปพบสูตินรีแพทย์ (มะเร็งนรีเวช) เพื่อตรวจภายในและค้นหารอยโรคมะเร็งหรือรักษาเบื้องต้น
ถ้าตรวจพบระยะแรกเริ่ม แพทย์จะจัดการง่ายกว่า รักษาให้หายขาดได้ มีค่าใช้จ่ายน้อย

แหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
1 โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test , สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ , 16 มีนาคม 2563
2 การประยุกต์ใช้ HPV Testing และ Genotyping ในทางเวชปฏิบัต (ศ.น.พ.จตุพล ศรีสมบูรณ์ )
3 สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ,ความรู้และวิชาการสำหรับประชาชนทั่วไป , การเก็บสิ่งส่งตรวจจากช่องคลอดด้วยตัวเองเพื่อตรวจหาเชื้อ HPV (Self-Collected HPV Testing)
11 ธันวาคม 2563
ผู้ชม 6162 ครั้ง